คณะพัฒนาการท่องเที่ยว ม.แม่โจ้ จัด Workshop สร้างสรรค์นวัตกรรมการบริการ

คณะพัฒนาการท่องเที่ยว ม.แม่โจ้ จัด Workshop สร้างสรรค์นวัตกรรมการบริการ (Service Innovation Design Boot Camp) หวังเพิ่มมูลค่าธุรกิจร้านอาหารและบริการแวดล้อมในชุมชน ตั้งเป้ายกระดับเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณค่าสูง (High Value Destination)

คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดกิจกรรมเสริมทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมการบริการ (Service Innovation Design Boot Camp) ระหว่างวันที่ 3-7 และ 10-14 กันยายน 2561 ณ ห้องเชียงแสน ศูนย์ประชุมนานาชาติคุ้มคำ จ.เชียงใหม่
อาจารย์อนุวัต เชื้อเย็น คณบดีคณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หัวหน้าโครงการฯ เปิดเผยว่า กิจกรรมเสริมทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมบริการ (Service Innovation Design Boot Camp) อยู่ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนบนฐานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมด้วยนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน หรือ Restaurant Service Innovation ซึ่งสนับสนุนโดย กระทรวงศึกษาธิการ ออกแบบหลักสูตรผ่านการถ่ายทอดความรู้เป็นลำดับขั้นโดยจัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างเข้มข้น (Intensive Training) แยกออกเป็น 2 หลักสูตร ได้ดังนี้
1) หลักสูตรเสริมขีดความสามารถนวัตกรชุมชนเพื่อพัฒนาสมรรถนะพิเศษด้านการออกแบบนวัตกรรมการบริการ (SID Boot Camp: Intensive Capacity Building Programme for LOCAL Innovator) จำนวน 30 คน –> กลุ่มเป้าหมาย: ผู้นำชุมชน, นักเคลื่อนไหวทางสังคม / นักปฏิบัติการเชิงรุก (activist), เกษตรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer), เกษตรกรหัวก้าวหน้า เป็นต้น

2) หลักสูตรเสริมขีดความสามารถนวัตกรต้นแบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะพิเศษด้านการออกแบบนวัตกรรมการบริการ (SID Boot Camp: Intensive Capacity Building Programme for LEAD Innovator) จำนวน 30 คน –> อาจารย์, นักวิจัย, ปราชญ์ท้องถิ่น, ผู้รู้, ผู้เชี่ยวชาญจากศาสตร์สาขาต่างๆ เป็นต้น
หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นดังกล่าวนี้ออกแบบขึ้นเพื่อเสริมกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) มุ่งพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมการบริการ (Service Innovation Prototype) บนฐานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมด้วยนวัตกรรมที่เหมาะสมกับบริบทชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าในกลุ่มธุรกิจร้านอาหารและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง(Integrated Service Innovation Ecosystem) ตั้งเป้ายกระดับเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณค่าสูง (High Value Destination) ควบคู่กับการพัฒนากลไกการถ่ายทอดองค์ความรู้ตามลำดับขั้น (Knowledge Cascading Method) โดยดำเนินการฝึกอบรมในลักษณะการพัฒนากลุ่มแกนนำ (Training of Trainers) สร้าง “นวัตกรต้นแบบ (Lead Innovator)” และ บ่มเพาะ “นวัตกรชุมชน (Local Innovator)” หวังผลให้เกิดกระบวนการเรียนรู้บนฐานของการร่วมสร้างสรรค์ (Co-Creation) ระหว่างกลุ่มเป้าหมาย และพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวนำร่อง เกิดเป็นฐานปฏิบัติการ (Platform) และแรงขับเคลื่อน (Momentum) ในห่วงโซ่คุณค่า กระตุ้นสร้างเครือข่ายทางสังคมของชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice: COP) นำส่งผลลัพธ์สุดท้าย คือ โครงข่ายการทำงานร่วมกัน สนับสนุนช่วยเหลือ ให้คำปรึกษากันและกัน ยกระดับคุณภาพชีวิต สู่การพัฒนาชุมชนสมรรถนะสูง (High Performance Community: HPC) คู่ขนานไปกับการสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบเศรษฐกิจฐานราก
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการดังกล่าวนี้ ได้ผนึกกำลังทีมงานผู้เชี่ยวชาญจากสหสาขาวิชา ทีมงานกระบวนกร (Facilitators) ผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์ และนักออกแบบท้องถิ่น เพื่อสื่อสารคุณค่ามรดกภูมิปัญญาอาหาร (Gastronomic Heritage) ด้วยกรอบกระบวนการคิดเชิงออกแบบ หรือ Design Thinking ที่ให้ผู้เข้าร่วมได้เข้าใจตัวตน บริบทโดยรอบ ด้วยการใช้เครื่องมือในการศึกษา วิเคราะห์ และนำจุดเด่นของภูมิปัญญาท้องถิ่น วัสดุ ทักษะฝีมือ มาต่อยอดในกระบวนการออกแบบ สร้างกลยุทธ์ทางการตลาด และนำไปใช้ในธุรกิจได้จริง และรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญให้สินค้าและบริการตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ สอดคล้องกับทิศทางของแบรนด์ สามารถนำแนวทางไปพัฒนาผลงานให้สามารถผลิตและจำหน่ายได้จริง แต่ละหลักสูตรทางคณะได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรมมากมายตลอดทั้ง 10 วัน อาทิ ผู้บริหารจาก Google Developer Group Thailand, ผู้บริหาร Beneat บริการทำความสะอาดที่กำลังมาแรง และดีไซน์เนอร์ชื่อดังอีกมากมาย นอกจากนั้นยังจะมีการศึกษาดูงานพร้อมทำ Workshop นอกสถานที่ ณ X2 Chiangmai Riverside Resort โรงแรมชื่อดังที่ได้รับรางวัลด้านสถาปัตยกรรมดีเด่น และห้องอาหาร Oxygen อาหารสไตล์ฝรั่งเศสจากฝีมือของเชฟมิชลินสตาร์ และ Ginger Farm อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ฟาร์มเกษตรห้องเรียนขนาด

ใหญ่ ตัวอย่างความสำเร็จด้านการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ผสมผสานกับการออกแบบด้านบริการ ที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูงให้กับพื้นที่และผลผลิตทางการเกษตร
กิจกรรมเสริมทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมบริการ หรือ Service Innovation Design Boot Camp นี้ ได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ คณะผลิตกรรมการเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Maejo University Business Incubator หรือ MJUBI สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ สวทน. ซึ่งคาดหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้ประชาชนชาวไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่มั่นคงอย่างครบวงจร ช่วยยกระดับเศรษฐกิจฐานราก บนฐานองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับมรดกภูมิปํญญาพื้นถิ่น มุ่งสนองนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาลที่ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”

ติดตามรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/mjursi หรือ Official Website ของโครงการ http://www.tourism.mju.ac.th/rsi/index

ข่าวชิ้นนี้เผยแพร่โดย iChiangMaiPR.com
หมวดหมู่: การศึกษา
คำค้น: